วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

การปลูกดอกทานตะวัน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดอกทานตะวัน

การปลูกดอกทานตะวัน
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมทานตะวันชอบอากาศอบอุ่นในเวลากลางวันและอากาศเย็นในเวลากลางคืนอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ อยู่ระหว่าง 18-25 องศาเซลเซียส สภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดินประมาณ 5.7-8 สามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกประเภท แต่ที่ขึ้นได้ดีคือดินที่มีหน้าดินลึกที่อุ้มน้ำได้ดี แต่ไม่ชอบน้ำขังและไม่ชอบดินที่มีลักษณะเป็นกรด หากดินที่ปลูกมีความชื้นต่ำ ผลผลิตของเมล็ดจะต่ำลงมาก
พันธุ์ทานตะวัน
ทานตะวันมี 3 สายพันธุ์ พันธุ์ผสมเปิด ซึ่งเป็นพันธุ์เดิมที่ใช้ปลูก ซึ่งในดอกจะมีจำนวนเรณูที่ติดอยู่ที่ก้านชูเกสรตัวเมียน้อย ทำให้การติดเมล็ดด้วยการผสมตัวเองต่ำ ต้องอาศัยแมลงช่วยในการผสมเกสร จึงจะทำให้ติดเมล็ด การปลูกจึงไม่ประสบผลสำเร็จเพราะได้เมล็ดลีบ ผลผลิตต่ำเนื่องจากไม่ค่อยมีแมลงช่วยผสมเกสร แต่ปัจจุบันมีพันธุ์ลูกผสมสามารถติดเมล็ดได้ดี โดยไม่ต้องอาศัยแมลงช่วยผสมเกสร เพราะในดอกมีละอองเรณูที่ติดอยู่ก้านชูเกสรตัวเมียมากกว่าพันธุ์ผสมเปิด 3-4 เท่า จึงทำให้การติดเมล็ดด้วยการผสมตัวเองดีกว่าสายพันธุ์ผสมเปิด
ปัจจุบันยังไม่มีการผลิตเมล็ดทานตะวันลูกผสมในประเทศไทย ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ พันธุ์ไฮซัน 33 และพันธุ์เอส 101 ซึ่งมีลักษณะของจานดอกค่อนข้างใหญ่ กลีบดอกสีเหลืองสดใส และให้ปริมาณน้ำมันสูง
สายพันธุ์สังเคราะห์ซึ่งยังไม่มีการส่งเสริมในปัจจุบัน แต่ในขณะนี้อยู่ระหว่งการวิจัยของหน่วยงานวิจัย
สำหรับทานตะวันที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในขณะนี้คือสายพันธุ์ลูกผสม

อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99




ดอกทิวลิป

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดอกทิวลิป

 ลักษณะ

     ทิวลิป เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว รูปใบเล็กเรียวยาว ปลายใบแหลม เส้นแขนงใบจะเป็นแนวขนานไปตามความยาวของใบ และเรียวลู่ไปรวมกันที่บริเวณปลายใบ ใบแต่ละใบจะออกสลับทิศทางตรงข้ามกัน ต้นหนึ่งๆ จะออกใบประมาณ 3-4 ใบ โดยปรกติทิวลิปจะมีขนาดสูงระหว่าง 12-18 นิ้ว ซึ่งก็ต้องแล้วแต่พันธุ์และชนิดของทิวลิปแต่ละอย่าง ดอกของทิวลิปก็เช่นเดียวกัน มีหลายแบบ หลายสี และหลายขนาด แต่โดยปรกติดอกทิวลิปจะเป็นดอกไม้รูปถ้วย ยามบานไม่บานแฉ่ง แต่จะบานเพียงแค่แย้มๆ กลีบออก ให้รู้ว่าเป็นดอกทิวลิปที่บานแล้ว แต่อย่างบายแฉ่งก็มีบ้าง เหมือนกัน เช่น พวกดอกทิวลิปซ้อนหลายๆ ชั้น ปรกติดอกทิวลิปจะมีกลีบดอกซ้อนกันเพียง 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ กลีบดอกของทิวลิปมีสีสันต่างๆ มากมายหลายเฉดสี นับตั้งแต่สีแสด แดง ส้ม เหลืองเข้ม เหลือง เหลืองอ่อน ชมพู ขาว และสีสลับลายหลายอย่าง มีทั้งสีเดียวล้วนๆ และสีผสมในดอกเดียว หรือที่เรียกว่า ”Broken Tulips” เกสรผู้เป็นสีเหลืองอ่อน หรือขาวเป็นแท่งรูปหัวศรมี 6 เส้น เกสรเมียมีขนาดโตกว่าเกสรผู้ อยู่กึ่งกลางเกสรผู้ เป็นลักษณะแท่งรูปสามเหลี่ยมยาว 2 - 2.5 เซนติเมตร ( ซึ่งมีขนาดยาวไล่เลี่ยกับเกสรผู้ ) ปลายเกสรเมียแต่ละเหลี่ยม งอลงเป็นสามแฉก ส่วนที่ปลายเกสรผู้บางพันธุ์อาจจะเป็นติ่งสีน้ำตาลเข้ม หรือสีดำก็มี

  วิธีการปลูก

      ดอกทิวลิป สามารถปลูกได้เฉพาะพื้นที่ ที่มีสภาพอากาศหนาวเย็นเท่านั้น แต่จากการทดลองปลูกทิวลิปที่ ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงดอยผาหม่น อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
 ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงจังหวัดเชียงราย สำนักส่งเสริมการเกษตรเขต 6 กรมส่งเสริมการเกษตร พบว่าทิวลิปที่สามารถนำมาปลูกในบ้านเรามี
 20 สายพันธุ์ แต่ในครั้งนี้ปลูกเพียง 6 สายพันธุ์ คือ Christmas Sweet (สีขาว) LLe de Srance (สีแดง) Aaske (สีชมพู) Leen Vd Nark (สีแดงเข้ม) Negrita (สีม่วง) 
และ Strong gold (สีเหลืองทอง)

      ตามปกติทิวลิปจะเจริญได้ดีในอุณหภูมิที่เหมาะสมเฉลี่ย 18-20 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลาในการปลูก 39 วัน ดอกจึงจะบาน เมื่อดอกบานแล้วจะสามารถอยู่ได้นานเพียง 7 ถึง 15 วัน....หากนำลงไปจากดอยดอกก็จะอยู่ได้เพียง 1 สัปดาห์ เท่านั้น สำหรับดอกทิวลิปบานที่ลานผาหม่นเต็มที่ในช่วงวันที่ 16 ธันวาคม และหากมีการควบคุมแสงอุณหภูมิได้อย่าง
เหมาะสมก็จะทนอยู่ในแปลงได้ 10 วัน ถึง 2 สัปดาห์


อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B

ความหมายของสีดอกกุหลาบ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดอกกุหลาบ

ดอกกุหลาบสีแดง คงเป็นสีที่เราเห็นกันจนชินตา  เป็นเหมือนภาพจำของดอกกุหลาบเลยก็ว่าได้ โดยกุหลาบสีแดงเป็นดอกไม้ที่แทนความหมายว่า “I LOVE YOU” ฉันรักเธอ ถ้าคุณได้รับดอกกุหลาบสีนี้จากคนรัก หมายถึง มันเป็นความรักที่จริงจัง มั่นคง และลึกซึ้ง แต่ถ้าเป็นเคสของคนที่ยังไม่มีเจ้าของ การได้ดอกกุหลาบสีนี้จากใครสักคน หมายถึงเค้ากำลังแอบปลื้มคุณอยู่ เหมือนการกระซิบบอกว่า “คุณช่างมีเสน่ห์เหลือเกิน ฉันตกหลุมรักคุณเข้าแล้ว”


ดอกกุหลาบสีขาว สื่อถึงความรักที่จริงใจ บริสุทธิ์ ถ้าคุณได้ดอกกุหลาบสีนี้จากใคร มันแทนความในใจของเค้าว่า รักนี้ไม่มีเจตนาร้ายแอบแฝง ไม่หวังผลตอบแทนใดๆ เหมือนเป็นสัญลักษณ์ของ “รักแท้” เราจึงมักจะเห็นกุหลาบสีขาวเป็นส่วนประกอบสำคัญในงานแต่งงานอยู่เสมอ ด้วยความหมายที่ลึกซึ้งของมันนั่นเอง ดอกกุหลาบสีนี้ยังนิยมมอบให้กับคนที่เคารพ เช่น พ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ครูบาอาจารย์ เจ้านาย เป็นต้น


ดอกกุหลาบสีชมพูที่ดูสวยงามน่ารักนี้ สื่อถึงความรักสุดแสนโรแมนติก หวานซึ้ง เป็นตัวแทนของความรักอันอ่อนหวานที่กำลังจะเบ่งบานขึ้นเรื่อยๆ โดยสามารถแบ่งลึกลงไปได้อีก อย่างเช่น กุหลาบสีชมพูเข้ม ยังใช้แทนคำขอบคุณ เพื่อตอบแทนน้ำใจและความหวังดี ส่วนดอกกุหลาบสีชมพูอ่อน ให้ความรู้สึกที่ดูสุภาพ นุ่มนวลใช้แทนความรู้สึกชื่นชม เห็นอกเห็นใจ หรือให้กำลังใจซึ่งกันและกัน



ดอกกุหลาบสีเหลือง เป็นสีที่แสดงถึงความสดใส มีชีวิตชีวา เป็นความรู้สึกที่อบอุ่นและเต็มไปด้วยความสุข สื่อถึงมิตรภาพที่ดี ดอกกุหลาบสีนี้จึงมักมอบให้กับเพื่อนสนิท ในการแสดงความยินดี หรือใช้ในการเยี่ยมคนป่วย เพื่อให้กำลังใจ แต่สำหรับเรื่องความรักของหนุ่มสาวนั้น การได้ดอกกุหลาบสีนี้อาจจะตีความได้ว่าเค้าต้องการเป็นแค่เพื่อนจริงๆ หรือเค้ารักคุณแบบบริสุทธิ์ เป็นความรักในรูปแบบที่จริงใจ มีแต่ความปรารถนาดี  ไม่มีเรื่องการครอบครองเข้ามาเอี่ยว

อ้างอิง https://sistacafe.com/summaries/37492-8%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B0


https://piyaonn2545.blogspot.com/p/home-page.html

ดอกมะลิ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดอกมะลิ

สรรพคุณของมะลิ

สรรพคุณของมะลิ

  1. ดอกมะลิมีรสหอมเย็น มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ทำให้ชื่นใจ จิตใจชุมชื่น แก้อาการอ่อนเพลีย ชูกำลัง (ดอก)[4]
  2. ชาวโอรังอัสลี ในรัฐเประ ประเทศมาเลเซีย จะใช้รากนำไปต้มแล้วดื่มน้ำเป็นยาแก้เบาหวาน (ราก)[9]
  3. หากมีอาการนอนไม่หลับ ให้ใช้รากแห้งประมาณ 1-1.5 กรัมนำมาฝนกับน้ำรับประทาน (ราก)[3]
  4. ดอกสดนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกขมับ จะช่วยแก้อาการปวดศีรษะได้ (ดอก)[1] หรือจะใช้รากสดประมาณ 1-1.5 กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดศีรษะก็ได้ (ราก)[1],[3]
  5. ช่วยแก้เจ็บตา (ดอก)[4]
  1. รากสดใช้ทำเป็นยาล้างตาแก้เยื่อตาอักเสบ (ราก)[1] ใบและรากใช้ทำเป็นยาหยอดตา (ใบ, ราก)[5] บ้างว่าใช้ดอกมะลิสดที่ล้างน้ำสะอาด นำมาต้มกับน้ำจนเดือดสักครู่ แล้วนำน้ำที่ได้มาใช้ล้างตาแก้ตาแดง เยื่อตาขาวอักเสบ (ดอก)[10]
  2. ช่วยแก้อาการเจ็บหู (ดอกและใบ)[3]
  3. ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้รากสดนำมาทุบให้แหลกคั่วกับเหล้าจนร้อน ใช้พอกบริเวณที่ปวด (ราก)[3],[10] หากปวดฟันผุ ให้ใช้รากมะลิตากแห้งนำมาบดให้เป็นผง ผสมกับไข่แดงที่ต้มสุกแล้วจนได้ยาที่เหนียวข้น ใช้ใส่ในรูฟันผุ (ราก)[10]
  4. ดอกและใบมีรสเผ็ดชุ่ม เป็นยาเย็น ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ใช้เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับเหงื่อขับความชื้น แก้ไข้หวัดแดด (ดอกและใบ)[3],[4] รากใช้ฝนกับน้ำเป็นยาแก้ร้อนใน (ราก)[5]
  5. ใช้ใบสดประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้ไข้ (ใบ)[1],[5]
  6. ตำรับยาแก้หวัดแดด มีไข้ ให้ใช้ดอกมะลิแห้ง 3 กรัม, ใบชาเขียว 3 กรัม, เมล็ดเฉาก๊วย 9 กรัมนำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน (ดอก)[3]
  7. ดอกสดนำมาตำใส่พิมเสน ใช้สุมหัวเด็กแก้ซาง แก้หวัด แก้ตัวร้อน (ดอก)[4]
  8. ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ด้วยการใช้รากสดประมาณ 1-1.5 กรัมนำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)[1]
  9. ดอกแก่ใช้เข้ายาหอมเป็นยาแก้หืด (ดอก)[5]
  10. ช่วยแก้หอบหืด หลอดลมอักเสบ ด้วยการใช้รากสด 1-1.5 กรัมนำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)[1],[4]
  11. รากใช้เป็นยาแก้โรคเกี่ยวกับทรวงอก (ราก)[1]
  12. ดอกสดนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกหรือเช็ดบริเวณเต้านมเพื่อให้หยุดการหลั่งของน้ำนมได้ (ดอก)[1]
  13. ใบสดประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องอืดแน่น (ใบ)[1] หรือจะใช้ดอกมะลิแห้ง 3 กรัม, ใบชาเขียว 3 กรัม, เมล็ดเฉาก๊วย 9 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเสีย (ดอก)[3]
  14. ช่วยแก้อาการเสียดท้อง (ราก)[5]
  15. ใช้ดอกสดหรือดอกแห้งประมาณ 1.5-3 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้โรคบิด แก้อาการปวดท้อง (ดอก[1],[4], ดอกและใบ[3])
  16. ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซีย จะนำใบอ่อนใสแช่ในน้ำเย็น ใช้ดื่มแก้นิ่วในถุงน้ำดี (ใบ)[9]
  17. ช่วยบำรุงครรภ์รักษา (ดอก)[4]
  18. ช่วยขับประจำเดือนของสตรี (ราก)[5]
  19. ดอกสดนำมาตำใช้เป็นยาทารักษาแผลเรื้อรัง ทาฝีหนอง ผิวหนังผื่นคัน เยื่อตาอักเสบ และแก้ปวดหูชั้นกลาง (ดอก)[1],[4] ช่วยแก้ฝีหนอง (ดอกและใบ)[3]
  20. ใบสดนำมาตำใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง แผลโรคผิวหนังเรื้อรัง แก้ฟกช้ำ และบาดแผล (ใบ)[1] หรือใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำมันมะพร้าวใหม่ ๆ นำไปลนไฟ ใช้ทารักษาแผล ฝีพุพอง (ใบ)[5]
  21. รากมีรสเผ็ดขม เป็นยาเย็น มีพิษเล็กน้อย ใช้เป็นยาชา ยาแก้ปวด ให้ใช้รากสดประมาณ 1-1.5 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้ปวด (ราก)[1],[3]
  22. ใช้แก้กระดูกร้าว ฟกช้ำ ให้ใช้รากแห้ง 1.5 กรัม นำมาฝนกับเหล้ารับประทาน (ราก)[3] หรือจะใช้รากสดตำพอกแก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอกเนื่องจากการหกล้ม (ราก)[3]
  23. ใบช่วยขับน้ำนมของสตรี (ใบ)[5]
  24. ตำรายาไทยจะใช้ดอกมะลิแห้งปรุงเป็นยาหอม โดยจัดให้ดอกมะลิอยู่ในพิกัดเกสรทั้ง 5, พิกัดเกสรทั้ง 7, พิกัดเกสรทั้ง 9 เป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณแก้ไข้ ช่วยทำให้จิตใจชุ่มชื่น (ดอก)[2],[4]
  25. นอกจากนี้ยังมีการนำดอกมะลิผสมเข้ายาหอมที่มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้ลมวิงเวียน เช่น ในตำรับยาหอมเทพจิต ยาหอมทิพโอสถ ยาหอมนวโกฐ และยาหอมอินทจักร์ ซึ่งมีส่วนประกอบหลักเป็นดอกมะลิ และยังใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแก้ไข้มิรู้จักสติสมปฤดี ยาประสะจันทน์แดง ยามหานิลแท่งทอง เป็นต้น (ดอก)

อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B4


https://piyaonn2545.blogspot.com/p/home-page.html

ดอกลิลลี่



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดอกลิลลี่


เรื่องน่ารู้ของดอกลิลลี่

          ดอกลิลลี่ มีชื่อสามัญว่า “Lily” เป็นไม้ดอกในตระกูล “Liliaceae” มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย แถบประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่น เป็นสายพันธุ์พืชประเภทหัว ที่มีกลิ่นหอม ดอกอูมใหญ่ มีหัวสะสมและหล่อเลี้ยงอาหารอยู่ใต้ดิน สามารถขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยการใช้หัวปักชำ โดยลิลลี่หนึ่งลำต้นสามารถแบกรับตัวดอกได้ 4 หรือ 8 ดอก เมื่อบานแล้วจะมีอายุ 1-2 สัปดาห์ก่อนร่วงโรยไป มีความสูงโตเต็มที่ประมาณ 0.6-1.8 เมตร 

          สมัยโบราณมีคนนำดอกลิลลี่มาทำเป็นอาหารและยารักษาโรค เนื่องจากมีแป้งและสารอาหารอยู่มาก ซึ่งแม้ว่าดอกลิลลี่ส่วนใหญ่ รวมถึงดอกลิลลี่ป่าจะไม่มีพิษภัยต่อมนุษย์ แต่สำหรับสัตว์เลี้ยงอย่าง แมว หากเผลอกินเข้าไปอาจทำให้อาเจียน ท้องเสีย หรือเป็นพิษขนาดทำให้ตายได้เลยทีเดียว

ประวัติของดอกลิลลี่

          ตามความเชื่อในปกรณัมกรีกโบราณ ดอกลิลลี่ เกิดจากน้ำนมของเทพีเฮร่า ภรรยาของราชาแห่งเทพเจ้าซุส แต่เพราะมีหน้าตาขาวบริสุทธิ์ผุดผ่องมากเกินไป วีนัส ผู้เป็นเทพีแห่งความงาม จึงเกิดกลัวขึ้นมาว่า ดอกไม้พันธุ์จะสวยสง่าเกินหน้าเกินตาของตัวเอง เลยสาปแช่งให้มีจุดด่างพร้อยขึ้นที่ใจกลางดอก นั่นก็คือส่วนเกสรดอกไม้ตัวเมีย ที่ยื่นยาวผิดจากดอกไม้ทั่วไป แถมด้วยจุดตะปุ่มตะป่ำเล็ก ๆ ที่กระจายไปตามกลีบดอก นั่นจึงเป็นที่มาว่าทำไมดอกลิลลี่บางสายพันธุ์ถึงได้มีลายจุดเล็ก ๆ กระจายตามกลีบดอก


อ้างอิง https://horoscope.kapook.com/view205958.html