ขั้นตอนและวิธีการทำ
homepage
การนำเสนอข้อมูล
วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2562
วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
การปลูกดอกทานตะวัน
การปลูกดอกทานตะวัน
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมทานตะวันชอบอากาศอบอุ่นในเวลากลางวันและอากาศเย็นในเวลากลางคืนอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ อยู่ระหว่าง 18-25 องศาเซลเซียส สภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดินประมาณ 5.7-8 สามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกประเภท แต่ที่ขึ้นได้ดีคือดินที่มีหน้าดินลึกที่อุ้มน้ำได้ดี แต่ไม่ชอบน้ำขังและไม่ชอบดินที่มีลักษณะเป็นกรด หากดินที่ปลูกมีความชื้นต่ำ ผลผลิตของเมล็ดจะต่ำลงมาก
พันธุ์ทานตะวัน
ทานตะวันมี 3 สายพันธุ์ พันธุ์ผสมเปิด ซึ่งเป็นพันธุ์เดิมที่ใช้ปลูก ซึ่งในดอกจะมีจำนวนเรณูที่ติดอยู่ที่ก้านชูเกสรตัวเมียน้อย ทำให้การติดเมล็ดด้วยการผสมตัวเองต่ำ ต้องอาศัยแมลงช่วยในการผสมเกสร จึงจะทำให้ติดเมล็ด การปลูกจึงไม่ประสบผลสำเร็จเพราะได้เมล็ดลีบ ผลผลิตต่ำเนื่องจากไม่ค่อยมีแมลงช่วยผสมเกสร แต่ปัจจุบันมีพันธุ์ลูกผสมสามารถติดเมล็ดได้ดี โดยไม่ต้องอาศัยแมลงช่วยผสมเกสร เพราะในดอกมีละอองเรณูที่ติดอยู่ก้านชูเกสรตัวเมียมากกว่าพันธุ์ผสมเปิด 3-4 เท่า จึงทำให้การติดเมล็ดด้วยการผสมตัวเองดีกว่าสายพันธุ์ผสมเปิด
ปัจจุบันยังไม่มีการผลิตเมล็ดทานตะวันลูกผสมในประเทศไทย ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ พันธุ์ไฮซัน 33 และพันธุ์เอส 101 ซึ่งมีลักษณะของจานดอกค่อนข้างใหญ่ กลีบดอกสีเหลืองสดใส และให้ปริมาณน้ำมันสูง
สายพันธุ์สังเคราะห์ซึ่งยังไม่มีการส่งเสริมในปัจจุบัน แต่ในขณะนี้อยู่ระหว่งการวิจัยของหน่วยงานวิจัย
สำหรับทานตะวันที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในขณะนี้คือสายพันธุ์ลูกผสม
อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99
อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99
ดอกทิวลิป
ลักษณะ
ทิวลิป เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว รูปใบเล็กเรียวยาว ปลายใบแหลม เส้นแขนงใบจะเป็นแนวขนานไปตามความยาวของใบ และเรียวลู่ไปรวมกันที่บริเวณปลายใบ ใบแต่ละใบจะออกสลับทิศทางตรงข้ามกัน ต้นหนึ่งๆ จะออกใบประมาณ 3-4 ใบ โดยปรกติทิวลิปจะมีขนาดสูงระหว่าง 12-18 นิ้ว ซึ่งก็ต้องแล้วแต่พันธุ์และชนิดของทิวลิปแต่ละอย่าง ดอกของทิวลิปก็เช่นเดียวกัน มีหลายแบบ หลายสี และหลายขนาด แต่โดยปรกติดอกทิวลิปจะเป็นดอกไม้รูปถ้วย ยามบานไม่บานแฉ่ง แต่จะบานเพียงแค่แย้มๆ กลีบออก ให้รู้ว่าเป็นดอกทิวลิปที่บานแล้ว แต่อย่างบายแฉ่งก็มีบ้าง เหมือนกัน เช่น พวกดอกทิวลิปซ้อนหลายๆ ชั้น ปรกติดอกทิวลิปจะมีกลีบดอกซ้อนกันเพียง 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ กลีบดอกของทิวลิปมีสีสันต่างๆ มากมายหลายเฉดสี นับตั้งแต่สีแสด แดง ส้ม เหลืองเข้ม เหลือง เหลืองอ่อน ชมพู ขาว และสีสลับลายหลายอย่าง มีทั้งสีเดียวล้วนๆ และสีผสมในดอกเดียว หรือที่เรียกว่า ”Broken Tulips” เกสรผู้เป็นสีเหลืองอ่อน หรือขาวเป็นแท่งรูปหัวศรมี 6 เส้น เกสรเมียมีขนาดโตกว่าเกสรผู้ อยู่กึ่งกลางเกสรผู้ เป็นลักษณะแท่งรูปสามเหลี่ยมยาว 2 - 2.5 เซนติเมตร ( ซึ่งมีขนาดยาวไล่เลี่ยกับเกสรผู้ ) ปลายเกสรเมียแต่ละเหลี่ยม งอลงเป็นสามแฉก ส่วนที่ปลายเกสรผู้บางพันธุ์อาจจะเป็นติ่งสีน้ำตาลเข้ม หรือสีดำก็มี
วิธีการปลูก
ดอกทิวลิป สามารถปลูกได้เฉพาะพื้นที่ ที่มีสภาพอากาศหนาวเย็นเท่านั้น แต่จากการทดลองปลูกทิวลิปที่ ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงดอยผาหม่น อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงจังหวัดเชียงราย สำนักส่งเสริมการเกษตรเขต 6 กรมส่งเสริมการเกษตร พบว่าทิวลิปที่สามารถนำมาปลูกในบ้านเรามี
20 สายพันธุ์ แต่ในครั้งนี้ปลูกเพียง 6 สายพันธุ์ คือ Christmas Sweet (สีขาว) LLe de Srance (สีแดง) Aaske (สีชมพู) Leen Vd Nark (สีแดงเข้ม) Negrita (สีม่วง)
และ Strong gold (สีเหลืองทอง)
ตามปกติทิวลิปจะเจริญได้ดีในอุณหภูมิที่เหมาะสมเฉลี่ย 18-20 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลาในการปลูก 39 วัน ดอกจึงจะบาน เมื่อดอกบานแล้วจะสามารถอยู่ได้นานเพียง 7 ถึง 15 วัน....หากนำลงไปจากดอยดอกก็จะอยู่ได้เพียง 1 สัปดาห์ เท่านั้น สำหรับดอกทิวลิปบานที่ลานผาหม่นเต็มที่ในช่วงวันที่ 16 ธันวาคม และหากมีการควบคุมแสงอุณหภูมิได้อย่าง
ตามปกติทิวลิปจะเจริญได้ดีในอุณหภูมิที่เหมาะสมเฉลี่ย 18-20 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลาในการปลูก 39 วัน ดอกจึงจะบาน เมื่อดอกบานแล้วจะสามารถอยู่ได้นานเพียง 7 ถึง 15 วัน....หากนำลงไปจากดอยดอกก็จะอยู่ได้เพียง 1 สัปดาห์ เท่านั้น สำหรับดอกทิวลิปบานที่ลานผาหม่นเต็มที่ในช่วงวันที่ 16 ธันวาคม และหากมีการควบคุมแสงอุณหภูมิได้อย่าง
เหมาะสมก็จะทนอยู่ในแปลงได้ 10 วัน ถึง 2 สัปดาห์
อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B
ความหมายของสีดอกกุหลาบ
ดอกกุหลาบสีแดง คงเป็นสีที่เราเห็นกันจนชินตา เป็นเหมือนภาพจำของดอกกุหลาบเลยก็ว่าได้ โดยกุหลาบสีแดงเป็นดอกไม้ที่แทนความหมายว่า “I LOVE YOU” ฉันรักเธอ ถ้าคุณได้รับดอกกุหลาบสีนี้จากคนรัก หมายถึง มันเป็นความรักที่จริงจัง มั่นคง และลึกซึ้ง แต่ถ้าเป็นเคสของคนที่ยังไม่มีเจ้าของ การได้ดอกกุหลาบสีนี้จากใครสักคน หมายถึงเค้ากำลังแอบปลื้มคุณอยู่ เหมือนการกระซิบบอกว่า “คุณช่างมีเสน่ห์เหลือเกิน ฉันตกหลุมรักคุณเข้าแล้ว”
ดอกกุหลาบสีขาว สื่อถึงความรักที่จริงใจ บริสุทธิ์ ถ้าคุณได้ดอกกุหลาบสีนี้จากใคร มันแทนความในใจของเค้าว่า รักนี้ไม่มีเจตนาร้ายแอบแฝง ไม่หวังผลตอบแทนใดๆ เหมือนเป็นสัญลักษณ์ของ “รักแท้” เราจึงมักจะเห็นกุหลาบสีขาวเป็นส่วนประกอบสำคัญในงานแต่งงานอยู่เสมอ ด้วยความหมายที่ลึกซึ้งของมันนั่นเอง ดอกกุหลาบสีนี้ยังนิยมมอบให้กับคนที่เคารพ เช่น พ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ครูบาอาจารย์ เจ้านาย เป็นต้น
ดอกกุหลาบสีชมพูที่ดูสวยงามน่ารักนี้ สื่อถึงความรักสุดแสนโรแมนติก หวานซึ้ง เป็นตัวแทนของความรักอันอ่อนหวานที่กำลังจะเบ่งบานขึ้นเรื่อยๆ โดยสามารถแบ่งลึกลงไปได้อีก อย่างเช่น กุหลาบสีชมพูเข้ม ยังใช้แทนคำขอบคุณ เพื่อตอบแทนน้ำใจและความหวังดี ส่วนดอกกุหลาบสีชมพูอ่อน ให้ความรู้สึกที่ดูสุภาพ นุ่มนวลใช้แทนความรู้สึกชื่นชม เห็นอกเห็นใจ หรือให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
ดอกกุหลาบสีเหลือง เป็นสีที่แสดงถึงความสดใส มีชีวิตชีวา เป็นความรู้สึกที่อบอุ่นและเต็มไปด้วยความสุข สื่อถึงมิตรภาพที่ดี ดอกกุหลาบสีนี้จึงมักมอบให้กับเพื่อนสนิท ในการแสดงความยินดี หรือใช้ในการเยี่ยมคนป่วย เพื่อให้กำลังใจ แต่สำหรับเรื่องความรักของหนุ่มสาวนั้น การได้ดอกกุหลาบสีนี้อาจจะตีความได้ว่าเค้าต้องการเป็นแค่เพื่อนจริงๆ หรือเค้ารักคุณแบบบริสุทธิ์ เป็นความรักในรูปแบบที่จริงใจ มีแต่ความปรารถนาดี ไม่มีเรื่องการครอบครองเข้ามาเอี่ยว
อ้างอิง https://sistacafe.com/summaries/37492-8%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B0
ดอกมะลิ
สรรพคุณของมะลิ
สรรพคุณของมะลิ
- ดอกมะลิมีรสหอมเย็น มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ทำให้ชื่นใจ จิตใจชุมชื่น แก้อาการอ่อนเพลีย ชูกำลัง (ดอก)[4]
- ชาวโอรังอัสลี ในรัฐเประ ประเทศมาเลเซีย จะใช้รากนำไปต้มแล้วดื่มน้ำเป็นยาแก้เบาหวาน (ราก)[9]
- หากมีอาการนอนไม่หลับ ให้ใช้รากแห้งประมาณ 1-1.5 กรัมนำมาฝนกับน้ำรับประทาน (ราก)[3]
- ดอกสดนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกขมับ จะช่วยแก้อาการปวดศีรษะได้ (ดอก)[1] หรือจะใช้รากสดประมาณ 1-1.5 กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดศีรษะก็ได้ (ราก)[1],[3]
- ช่วยแก้เจ็บตา (ดอก)[4]
- รากสดใช้ทำเป็นยาล้างตาแก้เยื่อตาอักเสบ (ราก)[1] ใบและรากใช้ทำเป็นยาหยอดตา (ใบ, ราก)[5] บ้างว่าใช้ดอกมะลิสดที่ล้างน้ำสะอาด นำมาต้มกับน้ำจนเดือดสักครู่ แล้วนำน้ำที่ได้มาใช้ล้างตาแก้ตาแดง เยื่อตาขาวอักเสบ (ดอก)[10]
- ช่วยแก้อาการเจ็บหู (ดอกและใบ)[3]
- ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้รากสดนำมาทุบให้แหลกคั่วกับเหล้าจนร้อน ใช้พอกบริเวณที่ปวด (ราก)[3],[10] หากปวดฟันผุ ให้ใช้รากมะลิตากแห้งนำมาบดให้เป็นผง ผสมกับไข่แดงที่ต้มสุกแล้วจนได้ยาที่เหนียวข้น ใช้ใส่ในรูฟันผุ (ราก)[10]
- ดอกและใบมีรสเผ็ดชุ่ม เป็นยาเย็น ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ใช้เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับเหงื่อขับความชื้น แก้ไข้หวัดแดด (ดอกและใบ)[3],[4] รากใช้ฝนกับน้ำเป็นยาแก้ร้อนใน (ราก)[5]
- ใช้ใบสดประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้ไข้ (ใบ)[1],[5]
- ตำรับยาแก้หวัดแดด มีไข้ ให้ใช้ดอกมะลิแห้ง 3 กรัม, ใบชาเขียว 3 กรัม, เมล็ดเฉาก๊วย 9 กรัมนำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน (ดอก)[3]
- ดอกสดนำมาตำใส่พิมเสน ใช้สุมหัวเด็กแก้ซาง แก้หวัด แก้ตัวร้อน (ดอก)[4]
- ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ด้วยการใช้รากสดประมาณ 1-1.5 กรัมนำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)[1]
- ดอกแก่ใช้เข้ายาหอมเป็นยาแก้หืด (ดอก)[5]
- ช่วยแก้หอบหืด หลอดลมอักเสบ ด้วยการใช้รากสด 1-1.5 กรัมนำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)[1],[4]
- รากใช้เป็นยาแก้โรคเกี่ยวกับทรวงอก (ราก)[1]
- ดอกสดนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกหรือเช็ดบริเวณเต้านมเพื่อให้หยุดการหลั่งของน้ำนมได้ (ดอก)[1]
- ใบสดประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องอืดแน่น (ใบ)[1] หรือจะใช้ดอกมะลิแห้ง 3 กรัม, ใบชาเขียว 3 กรัม, เมล็ดเฉาก๊วย 9 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเสีย (ดอก)[3]
- ช่วยแก้อาการเสียดท้อง (ราก)[5]
- ใช้ดอกสดหรือดอกแห้งประมาณ 1.5-3 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้โรคบิด แก้อาการปวดท้อง (ดอก[1],[4], ดอกและใบ[3])
- ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซีย จะนำใบอ่อนใสแช่ในน้ำเย็น ใช้ดื่มแก้นิ่วในถุงน้ำดี (ใบ)[9]
- ช่วยบำรุงครรภ์รักษา (ดอก)[4]
- ช่วยขับประจำเดือนของสตรี (ราก)[5]
- ดอกสดนำมาตำใช้เป็นยาทารักษาแผลเรื้อรัง ทาฝีหนอง ผิวหนังผื่นคัน เยื่อตาอักเสบ และแก้ปวดหูชั้นกลาง (ดอก)[1],[4] ช่วยแก้ฝีหนอง (ดอกและใบ)[3]
- ใบสดนำมาตำใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง แผลโรคผิวหนังเรื้อรัง แก้ฟกช้ำ และบาดแผล (ใบ)[1] หรือใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำมันมะพร้าวใหม่ ๆ นำไปลนไฟ ใช้ทารักษาแผล ฝีพุพอง (ใบ)[5]
- รากมีรสเผ็ดขม เป็นยาเย็น มีพิษเล็กน้อย ใช้เป็นยาชา ยาแก้ปวด ให้ใช้รากสดประมาณ 1-1.5 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้ปวด (ราก)[1],[3]
- ใช้แก้กระดูกร้าว ฟกช้ำ ให้ใช้รากแห้ง 1.5 กรัม นำมาฝนกับเหล้ารับประทาน (ราก)[3] หรือจะใช้รากสดตำพอกแก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอกเนื่องจากการหกล้ม (ราก)[3]
- ใบช่วยขับน้ำนมของสตรี (ใบ)[5]
- ตำรายาไทยจะใช้ดอกมะลิแห้งปรุงเป็นยาหอม โดยจัดให้ดอกมะลิอยู่ในพิกัดเกสรทั้ง 5, พิกัดเกสรทั้ง 7, พิกัดเกสรทั้ง 9 เป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณแก้ไข้ ช่วยทำให้จิตใจชุ่มชื่น (ดอก)[2],[4]
- นอกจากนี้ยังมีการนำดอกมะลิผสมเข้ายาหอมที่มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้ลมวิงเวียน เช่น ในตำรับยาหอมเทพจิต ยาหอมทิพโอสถ ยาหอมนวโกฐ และยาหอมอินทจักร์ ซึ่งมีส่วนประกอบหลักเป็นดอกมะลิ และยังใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแก้ไข้มิรู้จักสติสมปฤดี ยาประสะจันทน์แดง ยามหานิลแท่งทอง เป็นต้น (ดอก)
ดอกลิลลี่
เรื่องน่ารู้ของดอกลิลลี่
ดอกลิลลี่ มีชื่อสามัญว่า “Lily” เป็นไม้ดอกในตระกูล “Liliaceae” มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย แถบประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่น เป็นสายพันธุ์พืชประเภทหัว ที่มีกลิ่นหอม ดอกอูมใหญ่ มีหัวสะสมและหล่อเลี้ยงอาหารอยู่ใต้ดิน สามารถขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยการใช้หัวปักชำ โดยลิลลี่หนึ่งลำต้นสามารถแบกรับตัวดอกได้ 4 หรือ 8 ดอก เมื่อบานแล้วจะมีอายุ 1-2 สัปดาห์ก่อนร่วงโรยไป มีความสูงโตเต็มที่ประมาณ 0.6-1.8 เมตร
สมัยโบราณมีคนนำดอกลิลลี่มาทำเป็นอาหารและยารักษาโรค เนื่องจากมีแป้งและสารอาหารอยู่มาก ซึ่งแม้ว่าดอกลิลลี่ส่วนใหญ่ รวมถึงดอกลิลลี่ป่าจะไม่มีพิษภัยต่อมนุษย์ แต่สำหรับสัตว์เลี้ยงอย่าง แมว หากเผลอกินเข้าไปอาจทำให้อาเจียน ท้องเสีย หรือเป็นพิษขนาดทำให้ตายได้เลยทีเดียว
ประวัติของดอกลิลลี่
ตามความเชื่อในปกรณัมกรีกโบราณ ดอกลิลลี่ เกิดจากน้ำนมของเทพีเฮร่า ภรรยาของราชาแห่งเทพเจ้าซุส แต่เพราะมีหน้าตาขาวบริสุทธิ์ผุดผ่องมากเกินไป วีนัส ผู้เป็นเทพีแห่งความงาม จึงเกิดกลัวขึ้นมาว่า ดอกไม้พันธุ์จะสวยสง่าเกินหน้าเกินตาของตัวเอง เลยสาปแช่งให้มีจุดด่างพร้อยขึ้นที่ใจกลางดอก นั่นก็คือส่วนเกสรดอกไม้ตัวเมีย ที่ยื่นยาวผิดจากดอกไม้ทั่วไป แถมด้วยจุดตะปุ่มตะป่ำเล็ก ๆ ที่กระจายไปตามกลีบดอก นั่นจึงเป็นที่มาว่าทำไมดอกลิลลี่บางสายพันธุ์ถึงได้มีลายจุดเล็ก ๆ กระจายตามกลีบดอก
อ้างอิง https://horoscope.kapook.com/view205958.html
วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2562
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)